พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก
พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ
พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย
พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท
วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558
หน่วยที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา
1.ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม
รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่
- ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม)
- ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา )
- ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร)
- ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์)
นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นหรือจิตใจ ได้แก่
- เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา ไม่ยินดียินร้าย
- สัญญา คือ ความจำได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส เมื่อสัมผัสอีกครั้งก็สามารถบอกได้
- สังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว หรือเป็นกลาง สิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งจิต ได้แก่ เจตนา ค่านิยม ความสนใจ ความโลภ และความหลง
- วิญญาณ คือ ความรับรู้ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ 6)
อ่านเพิ่มเติม
1.ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม
รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่
- ธาตุดิน(ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม)
- ธาตุน้ำ (ส่วนที่เป็นของเหลวของร่างกาย) เช่น เลือด น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำตา )
- ธาตุลม (ส่วนที่เป็นลมของร่างกาย ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก ลมในกระเพาะอาหาร)
- ธาตุไฟ ( ส่วนที่เป็นอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ ความร้อนในร่างกายมนุษย์)
นาม คือ ส่วนที่มองไม่เห็นหรือจิตใจ ได้แก่
- เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่น สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอุเบกขาเวทนา ไม่ยินดียินร้าย
- สัญญา คือ ความจำได้โดยอาศัยประสาทสัมผัส เมื่อสัมผัสอีกครั้งก็สามารถบอกได้
- สังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่งจิตใจให้คิดดี คิดชั่ว หรือเป็นกลาง สิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งจิต ได้แก่ เจตนา ค่านิยม ความสนใจ ความโลภ และความหลง
- วิญญาณ คือ ความรับรู้ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะ 6)
อ่านเพิ่มเติม
หน่วยที่ ๓ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และ ศาสนพิธี
1.1 หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
1) วันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา คือ การบูชาในเดือนมาฆะ คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือการประชุมสงฆ์โดยมิได้นัดหมายกันที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ประกอบด้วยองค์ 4 คือ 1. เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ 2. พระภิกษุ1,250 องค์ มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย 3. ภิกษุเหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ 4. ได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้า เป็นเอหิภิกขุทั้งสิ้น
ในวันนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม คือแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ วางหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธองค์ไว้ 3 ประการ คือ 1. ไม่ทำความชั่ว 2. การทำบุญกุศลให้ถึงพร้อม และ 3. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
หลักคำสอน 3 ประการ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสไว้อย่างนี้ถือเป็นธรรมนูญของพระสงฆ์ใน การยึดถือปฏิบัติต่อไป อ่านเพิ่มเติม
หน่วยที่ ๒ พุทธประวัติและชาดก
ชาติตระกูล มีพระนามเดิมว่า “สิทธัตถะ” เป็นราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กับ”พระนางสิริมหามายา” ประสูติ ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละ (ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) พราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่ โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันว่า จะได้ออกบวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
หลังประสูติได้ 7 วัน พระมารดาสิ้นพระชนม์ จึงอยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมี ทรงเล่าเรียนจบระดับสูงของการศึกษาทางโลก คือ ศิลปศาสตร์ถึง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร พระบิดาไม่ประสงค์ให้เป็นศาสดา จึงพยายามให้พบแต่ความสุขทางโลก เช่น สร้างปราสาท 3 ฤดู และเมื่ออายุ 16 ปี ได้ให้อภิเษกกับนางพิมพาหรือยโสธรา เมื่อมีพระชนมายุ 29 ปี พระนางพิมพาก็ให้ประสูติ ราหุล (บ่วง) อ่านเพิ่มเติม
หน่วยที่ ๑ ประวัติและความเป็นมาของพระพุทธศาสนา
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านและการนับถือพระพุทธศาสนาของประเทศเพื่อนบ้าน
ในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน
หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพานที่เมืองกุสินาราแล้ว ได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย จัดไว้เป็นหมวดหมู่จนกระทั่งสมัย
ของพระเจ้าอโศกมหาราชพระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งและได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งที่ 3 ในสมัยของพระองค์หลังจากทำสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงจัดส่งสมณทูต จำนวน 9 สาย เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่างๆทำให้พระพุทธศาสนาขยายไปทั่วและเจริญรุ่งเรืองเท่าทุกวันนี้สำหรับดินแดนสุวรรณภูมิ(เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)คณะสมณทูตที่เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้แก่ พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ ซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะเผยแผ่เข้ามาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 500 เพราะปรากฏหลักฐานอยู่ในดินแดนแถบนี้ ได้แก่ เจดีย์ สถูป พระพุทธรูป ธรรมจักรศิลา เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม
ของพระเจ้าอโศกมหาราชพระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งและได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งที่ 3 ในสมัยของพระองค์หลังจากทำสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงจัดส่งสมณทูต จำนวน 9 สาย เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่างๆทำให้พระพุทธศาสนาขยายไปทั่วและเจริญรุ่งเรืองเท่าทุกวันนี้สำหรับดินแดนสุวรรณภูมิ(เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)คณะสมณทูตที่เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้แก่ พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ ซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะเผยแผ่เข้ามาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 500 เพราะปรากฏหลักฐานอยู่ในดินแดนแถบนี้ ได้แก่ เจดีย์ สถูป พระพุทธรูป ธรรมจักรศิลา เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม